MY MENU

HOME.TITLE สินค้า ก๊อกเท้าเหยียบ บทความ

บทความ

หัวข้อ
ดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป
ผู้เขียน
ผู้ดูแลระบบ
วันที่สร้าง
15/06/2020
สิ่งที่แนบมา0
ดู
431
เนื้อหา



โดยทั่วไปน้ำมีการใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่นเป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อการประปา เพื่อการเกษตรกรรม เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ 

และเพื่อการดำรงของสัตว์น้ำเป็นต้น ความต้องการคุณภาพน้ำจะแตกต่างกัน ขึ้นกับว่านำน้ำไปใช้ประโยชน์ทางด้านใด ดัชนีคุณภาพ

น้ำทั่วไปที่กล่าวถึง เป็นดัชนีที่บ่งบอกสภาพของแม่น้ำโดยทั่วไป โดยมิได้ระบุโดยตรงว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

 เช่นเดียวกัน การบอกสภาพร่างกายของคนว่าสมบูรณ์แข็งแรง หรือป่วยแค่ไหนแต่มีได้ชี้ให้เห็นโดยตรงว่า คนที่มีอาการอย่างนั้นจะทำอะไรได้บ้าง

 (ซึ่งคนป่วยไม่มากก็ยังทำงานบางอย่างได้) โดยเหตุนี้เราจึงเรียกว่า ดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป (General Water Quality Index) เพื่อบ่งบอก 

ระดับคุณภาพน้ำว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ดีพอใช้หรือต่ำ ซึ่งจะทำให้เราทราบว่าแม่น้ำดังกล่าวจะต้องดำเนินการควบคุมดูแลอย่างไรบ้าง เช่นเดียวกับ

ถ้าป่วย (คุณภาพน้ำต่ำ) ก็ต้องไปหาหมอ (มีมาตรการจัดการโดยด่วน) ซึ่งจะแก้ไขมากน้อยเพียงไร ก็ต้องดูว่าอาการที่เกิดขึ้นรุนแรงมากหรือน้อยและ 

สาเหตุ เกิดเนื่องมาจาก ธรรมชาติเอง เช่น ความขุ่น หรือจากการกระทำของมนุษย์ เช่นการระบายน้ำเสีย


Unweighted Multiplicative River Water Quality Index เป็นวิธีใช้ในการเผยแพร่ให้ความรู้ทางด้านคุณภาพน้ำแก่สาธารณชนทราบ ด้วยคำที่ง่าย 

วิธีการรวบรัด และเข้าใจโดยง่าย ไม่สลับซับซ้อน ซึ่งใช้อยู่ในสหรัฐอเมริกา และเป็นวิธีหนึ่งที่ถูกใช้ในการจัดทำรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรของ

สหรัฐอเมริกา (พัฒนาโดย Brown, R.M., et al. 1970)


ดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป (WQI) ที่กล่าวถึง มีหน่วยเป็นคะแนน เริ่มจาก 0 ถึง 100 คะแนน ( ขอให้คิดเหมือนการสอบ ) 91–100 คะแนน ถือว่า 

คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก 71-90 คะแนน คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี 61-70 คะแนน คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ 31-60 คะแนน คุณภาพน้ำ

อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม 0-30 คะแนนคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก


คะแนนเหล่านี้โดยปกติเกิดมาจากการรวมคะแนน ดัชนีคุณภาพน้ำ 9 ดัชนี ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) , ออกซิเจนละลายน้ำ (DO) , 

ของแข็งทั้งหมด (Total Solid, TS) , แบคทีเรียกลุ่มฟีคัลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria, FCB) , ไนเตรท (NO 3 -) , ฟอสเฟต (PO 4 3-) , 

ความขุ่น (Turbidity), อุณหภูมิ (Temperature) , และความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (Biological Oxygen Demand, BOD) เข้าด้วยกันเป็นคะแนนรวมอย่างเดียว 

โดยใช้สมการ WQI = [(pH) (DO) (TS) (FCB) (NO 3 -) (PO 4 3-) (Turbid) (Temp) (BOD)]^1/9


ที่มาของทั้ง 9 และคะแนนที่เกี่ยวข้องของแต่ละดัชนีคุณภาพน้ำ เกิดมาจากการส่งแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญต่างๆนับร้อยคน (ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการพัฒนาระเบิดปรมาณู) 

โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายกำหนดว่าการพิจารณาคุณภาพน้ำทั่วไป ควรดูดัชนีอะไรบ้าง และถ้าจะให้คะแนนตามระดับความเข้มข้นต่างๆเช่น 

ค่าออกซิเจน 3 มิลลิกรัมต่อลิตรจะให้คะแนนเท่าไหร่ ซึ่งผลการรวมความคิดของเหล่าผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว ได้นำไปสู่การพัฒนาดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไปซึ่งได้มีการพิสูจน์

เปรียบเทียบผลคะแนนคุณภาพน้ำที่ได้จากวิธีนี้กับความรู้สึกของผู้เชี่ยวชาญแล้วพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้


กรมควบคุมมลพิษได้มีการทดสอบวิธีดังกล่าวกับผลคุณภาพน้ำที่มีอยู่ในแม่น้ำ 45 สายเป็นระยะเวลา 1 ปี และได้ดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยในการรายงาน

ผลดัชนีวัดคุณภาพน้ำทั่วไปจะใช้ดัชนีตรวจวัดคุณภาพน้ำ 8 ดัชนี ไม่รวมอุณหภูมิเพื่อให้ WQI มีความอ่อนไหวพอสมควรต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ และทั้งนี้

สภาพอุณหภูมิน้ำและอากาศในบ้านเราเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก (จะใช้อุณหภูมิเมื่อพบว่ามี Thermal Pollution) จากการทดลองใช้ Modified Water Quality Index 

กับผลข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่างๆในประเทศไทยพบว่าการวิเคราะห์ผลอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ดีในทางปฏิบัติ สามารถนำไปใช้ในการอธิบายภาพรวมของคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ 

รวมทั้งยังใช้เปรียบเทียบระดับคุณภาพน้ำระหว่างแม่น้ำได้ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการมองภาพรวม เพื่อให้ผู้บริหารและประชาชนซึ่งไม่มีพื้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจสภาพปัญหา

คุณภาพน้ำที่เกิดขึ้น


คะแนนที่ได้จากแต่ละพารามิเตอร์ สามารถทดสอบได้จากเส้นกราฟ (Rating Curve) ที่เสนอมารวมกับโปรแกรมและหลังจากที่คำนวณแต่ละพารามิเตอร์ จะทำทุกคะแนนรวมกัน

อีกครั้งเพื่อหาคะแนนสุดท้าย จากสูตรคำนวณดังข้างต้น ทั้งนี้กรมควบคุมมลพิษได้ปรับ rating curve เพื่อพัฒนาให้สูตรการคำนวณ WQI เหมาะสมกับแม่น้ำในประเทศไทย

และสามารถเปรียบเทียบได้กับมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดิน นั่นคือ



ช่วง WQIระดับค่า WQIเทียบได้กับมาตรฐานแหล่งน้ำประเภท
0-30เสื่อมโทรมมาก5
31-60เสื่อมโทรม4
61-70พอใช้3
71- 90ดี2
91-100ดีมาก1

แก้ไขข้อคิดเห็น

ป้อนรหัสผ่านของคุณเพื่อแก้ไขโพสต์

ลบความคิดเห็นลบโพสต์

ป้อนรหัสผ่านเพื่อลบโพสต์