MY MENU

HOME.TITLE สินค้า ก๊อกเท้าเหยียบ บทความ

บทความ

หัวข้อ
สิ่งปนเปื้อนในน้ำ
ผู้เขียน
ผู้ดูแลระบบ
วันที่สร้าง
15/06/2020
สิ่งที่แนบมา0
ดู
574
เนื้อหา



น้ำที่ผ่านการกรองโดยวิธีธรรมชาติ    เป็นน้ำที่บริสุทธิ์มากกว่าโดยวิธีอื่นใด  แต่อย่างไรก็ตาม   ก็ยังมีแร่ธาตุต่าง ๆ
ละลายอยู่บ้าง   ตามสิ่งที่น้ำนั้นได้ไหลผ่าน   เช่น  น้ำในลำธาร  น้ำนิ่งในทะเลสาบ  และที่ผ่านชั้นดินชั้นหินในดิน   
แต่แร่ธาตุที่ละลายในน้ำบางชนิดก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้   โดยทั่วไปแล้วผู้คนจะชอบดื่มน้ำแร่(mineral water)  
 เนื่องจากมีรสชาติที่น่าพอใจ   อย่างไรก็ตามถ้าแร่ธาตุในน้ำมีมากเกินไปจะคล้าย ๆ กับมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่   
ซึ่งไม่ปลอดภัยต่อการนำมาใช้อุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน

เหล็กในน้ำ
เหล็กเป็นโลหะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในหินที่เกิดจากลาวา(igneous rock) และในหินทราย งานวิจัยทุกวันนี้ไม่ได้กล่าวถึง
ระดับของเหล็กในน้ำที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย   แต่หากมีเหล็กในน้ำดื่มเกิน 0.3 ppm  จะทำให้เกิดสีและรสที่ไม่พึงประสงค์  
นอกจากนั้นยังทำให้เกิดคราบเกาะตามเสื้อผ้าและอ่างล้างอีกด้วย  ในท่อส่งน้ำมักจะมีเหล็กละลายอยู่ในน้ำ  เมื่อสัมผัสกับ
ออกซิเจนจะกลายเป็นสารประกอบชนิดใหม่ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า(visible)  หรือที่เราพบเป็นประจำในรูปสนิมเหล็ก

ทองแดงในน้ำ
ในน้ำประปาทั่วไปเรามักไม่พบทองแดง  แต่ถ้าพบทองแดงในน้ำดื่ม  เมื่อบริโภคเข้าไปอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายเกี่ยวกับ
ทางเดินอาหารได้  นอกจากนั้นยังทำให้เกิดฟิล์มสีเขียวเกาะบนผิวของอ่างล้างและอ่างอาบน้ำด้วย  ทาง EPA ได้กำหนดมาตรฐาน
ของทองแดงไว้ว่า  หากมีปริมาณทองแดงในน้ำ 1 ppm หรือมากกว่าจะต้องหาแนวทางในการจัดการอย่างถูกต้องทันที

ซัลเฟตในน้ำ
ซัลเฟต(หรือสารประกอบซัลเฟต)  มักพบในน้ำผิวดินทั่วไปและในบ่อ  ซัลเฟอร์ที่เกิดขึ้นในบ่อมีสาเหตุจากการย่อยสลายพืชน้ำ, ดิน 
และหิน แบคทีเรียชนิด Sulfur-Reducing Bacteria (SRB)  จะเปลี่ยนซัลเฟตให้เป็นไฮโดรเจนซัลไฟด์  ซึ่งมีกลิ่นคล้ายไข่เน่า  จริง ๆ แล้ว
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด  แต่ทั้งรสและกลิ่นนั้นทำให้เกิดความรำคาญ      เครื่องทำน้ำร้อนก็เป็นแหล่ง
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ด้วยเช่นกัน  แท่งแมกนีเซียมถูกนำมาใช้ในเครื่องทำความร้อนเพื่อควบคุมการกัดกร่อน  และสามารถลดการเกิด
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้อีกด้วย    แหล่งของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์แหล่งอื่น ๆ ได้แก่  ขยะ(sewage pollution)  โดยกลิ่นจะชัดเจน
และรุนแรงมากขึ้นถ้าถูกรดน้ำ   และถ้ามีซัลเฟตปนเปื้อนในน้ำมากกว่า 250 ppm เมื่อบริโภคเข้าไปจะส่งผลให้ท้องเสียได้

คลอไรด์ในน้ำ
คลอไรด์ในน้ำจะอยู่ในรูป C l- ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ที่พบมาก   ถ้ามีคลอไรด์ในน้ำ 250 ppm จะทำให้น้ำเริ่มมีรสเค็ม  บริเวณชายหาดจะพบคลอไรด์
ในบ่อที่มีน้ำชะดินจากแหล่งน้ำกร่อยเข้ามา   คลอไรด์ปะปนมาในน้ำประปาโดยเครื่องกรองน้ำ (water softener units) ถ้าคลอไรด์มีปริมาณมากอาจ
เป็นอันตรายต่อท่อส่งน้ำ(ที่ทำจากโลหะ)ได้  และทำให้พืชน้ำเจริญ  และในทางการแพทย์ได้กำหนดว่าโภชนาการที่ดีนั้นจะต้องมีปริมาณเกลือ
โซเดียมคลอไรด์ต่ำ 

แก้ไขข้อคิดเห็น

ป้อนรหัสผ่านของคุณเพื่อแก้ไขโพสต์

ลบความคิดเห็นลบโพสต์

ป้อนรหัสผ่านเพื่อลบโพสต์